qna

คำถาม: ปลูกผมเจ็บมากไหม?

เจ็บเล็กน้อยตอนที่เริ่มฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วแพทย์จะรอจนยาชาออกฤทธิ์จึงเริ่มทำ ดังนั้นขณะที่ทำจะไม่รู้สึกเจ็บครับ

คำถาม: การปลูกผมจะต้องนอนโรงพยาบาลหรือเปล่าครับ?
การปลูกผมนั้นท่านสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หลังจากนั้นท่านสามารถกลับไปทำงานได้เลยในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้าท่านต้องการหยุดพักอาจจะแค่ 2-3 วัน ก็เพียงพอครับ

คำถาม: หลังจากที่ปลูกผมไปแล้วจะมีผลข้างเคียงหรือป่าว?
ศัลกรรมปลูกผมมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการทำศัลกรรมทั่วไป เช่น การติดเชื้อหลังผ่าตัด แผลเป็น ซึ่งโอกาสเกิดการติดเชื้อเท่ากับการผ่าตัดทั่วไปซึ่งไม่ถึง 1% แผลเป็นบริเวณหลังศีรษะมีโอกาสเกิดได้ แต่ด้วยเทคนิคการผ่าตัดและความชำนาญของคุณหมอ ทำให้แผลเป็นบริเวณหลังศีรษะเล็กจนสังเกตเห็นได้ยาก ผลข้างเคียงที่รุนแรงและอันตรายหลังการปลูกผมไปแล้วยังไม่มีรายงานครับ

คำถาม: ถ้าผมงอกจะปลูกผมให้เป็นสีดำได้ไหม?

สีผมที่ขึ้นมาใหม่ขึ้นกับรากผมที่นำมาปลูก หากรากผมที่ทำมาปลูกเดิมเป็นสีขาวผมที่ขึ้นใหม่ก็จะเป็นสีขาวครับ

คำถาม: หลังปลูกผมจะมีแผลเป็นหรือไม่ แล้วจะเห็นแผลชัดเจนไหม?

จะมีแผลเป็นบริเวณท้ายทอย ซึ่งขนาดเล็กมากๆ ซึ่งผมที่เหลืออยู่สามารถปกปิดได้ไม่มีไครมองเห็น

คำถาม: ผมที่ปลูกไปจะตัด ย้อม หรือทำสีผมได้ไหม?

ทำได้ตามปกติครับ

คำถาม: อายุเท่าไรที่ควรจะปลูกผม?

ไม่มีข้อจำกัดครับ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของแต่ละบุคคล เช่น ทำไห้สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคม ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล เป็นต้น ปกติแล้วคนอายุน้อยมากๆ ต้องพิจารณาในหลายเรื่องก่อนจะตัดสินใจให้การรักษาครับ ควรมาให้แพทย์ประเมินก่อน

คำถาม: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราสมควรที่จะปลูกผม?

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินโดยการซักประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว สุขภาพทั่วไปของคนไข้ รวมทั้งการตรวจประเมินดูความรุนแรงของการร่วงของเส้นผมว่าเป็นมากน้อยแค่ไหน ความหนาแน่นของเส้นผม อีกทั้งคุณภาพและปริมาณที่จะนำไปปลูก โดยดูบริเวณท้ายทอยและข้างหู ซึ่งท่านต้องเข้ามาพบแพทย์ จึงจะประเมินได้ถูกต้อง

คำถาม: หลังจากปลูกผมไปแล้ว จะเห็นผลได้เมื่อไร?

ระยะแรกหลังการผ่าตัดเส้นผมจะร่วงไปก่อน โดยรากผมจะเข้าสู่ระยะพักประมาณ 4 เดือนจึงเริ่มงอกใหม่ อัตราการยาวของเส้นผม เท่ากับเส้นผมปกติตามธรรมชาติ ดังนั้น ระยะเวลาที่ผมจะยาวทันกันและให้ผลปรากฏที่สวยงาม จึงอยู่ที่ประมาณ 8-10 เดือน

คำถาม: ปลูกผมแล้วยังต้องรับประทานยาต่อหรือไม่?

การทำศัลยกรรมปลูกผม ไม่ได้เพิ่มปริมาณผมให้มีจำนวนมากขึ้น แต่การรับประทานยาจะช่วยหยุดการร่วงของผมและทำให้ผมมีปริมาณและความหนาแน่นเพิ่มขึ้นได้ และภาวะผมร่วงในเพศชายเป็นภาวะที่เกิดไปตลอดชีวิต ดังนั้นการรับประทานยายังจำเป็นเพื่อช่วยทำให้ผมไม่ร่วงต่อไปอีก ส่วนผมที่นำมาปลูกเนื่องจากเป็นผมที่นำมาจากบริเวณที่ปลอดจากการรบกวนของฮอร์โมนเพศ จึงไม่ร่วงต่อ ดังนั้นการรับประทานยานั้นเพื่อรักษาผมที่มีอยู่เดิมไม่ให้ร่วงและทำให้ผมที่ยาวอยู่ก่อนแล้วกลับหนาขึ้นได้บ้าง

คำถาม: มีคนบอกว่าการทำศัลยกรรมปลูกผม จะทำลายเส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะและทำให้โอกาสในการรักษาด้วยยาลดลง จริงหรือไม่?

การทำศัลยกรรมปลูกผมอาจรบกวนเส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะจริง แต่ในที่สุดแล้วร่างกายก็จะสร้างเส้นเลือดใหม่เพื่อมาหล่อเลี้ยงรากผมที่ปลูก และในการทำศัลยกรรมปลูกผมโดยแพทย์และทีมปลูกผมที่ได้รับการศึกษาและฝึกฝนมาโดยเฉพาะจะทราบถึงข้อจำกัด และข้อควรระวังต่าง ๆ ในการทำศัลยกรรมปลูกผมเป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถที่จะลดการทำลายเส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะที่ไม่จำเป็น ดังนั้นจึงทำให้ยังสามารถใช้ยาในการรักษาร่วมด้วยเสมอ

คำถาม: บุหรี่มีผลต่อการขึ้นของผมที่ปลูกไปแล้วหรือไม่?

บุหรี่ประกอบด้วยสารนิโคตินและสารพิษเป็นจำนวนมาก และมีผลทำให้เส้นเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมีความผิดปกติ ดังนั้นรากผมที่นำลงไปปลูก จึงได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ จึงทำให้ผลที่ได้ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ถ้าเป็นไปได้ เราจะแนะนำคนไข้ให้ลดการสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ก่อนและหลังการผ่าตัดปลูกผม

อ้างอิงจาก American Heart Association journal Circulation

คำถาม: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการปลูกผมหรือไม่?

สำหรับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้เลือดออกง่ายและหยุดยาก เนื่องจากตัวแอลกอฮอล์ ไปทำให้เกร็ดเลือดทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ การทำงานของตับที่ผิดปกติเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะทำให้ไม่สามารถสร้างสารแข็งตัวของเลือดได้ ดังนั้นเราจึงแนะนำให้หยุดการดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนที่จะมาทำการผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์

อ้างอิงจาก American Heart Association journal Circulation

คำถาม: ทำไมการประเมินจำนวนกราฟในแต่ละที่จึงแตกต่างกัน?

การประเมินจำนวนกราฟที่ใช้ต้องดูจากขนาดพื้นที่ที่จะปลูก บริเวณที่จะปลูกเป็นบริเวณไหน และบริเวณนั้นเป็นลักษณะผมบางหรือไม่มีผมอยู่เลย และความกว้างความลึกที่คนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะการปลูกผมบริเวณด้านหน้า ซึ่งการออกแบบแนวผมต้องดูจากความเหมาะสมกับรูปหน้า อายุ เพศ และความต้องการของผู้รับบริการด้วย