hair_page2 copy

คลินิกปลูกผม โดยแพทย์ วุฒิบัตรอเมริกันบอร์ดปลูกผม
Diplomate American Board Hair Transplant
(Dr.Thaweeporn Treepraphakorn)


ปลูกผมถาวร

ปลูกผม ปัญหาผมร่วง ศีรษะล้าน นั้นมีการแก้ไขหลายวิธีตั้งแต่การใส่วิตามิน  เพื่อกระตุ้นให้ผมงอกขึ้นมาระดับหนึ่งไปจนถึงการปลูกผม ปัจจุบันวิธีที่แก้ปัญหาศีรษะล้านที่ได้ผลดีและใกล้เคียงที่สุด  คือการนำเซลล์รากผมที่แข็งแรงบริเวณท้ายทอยย้ายมาไว้บริเวณที่มีปัญหา การปลูกผมวิธีนี้คนไข้ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น ข้อดีของวิธีนี้คือเส้นผมใหม่คือเส้นผมจริงของคนไข้ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ เป็นผมซึ่งเกิดจากเซลล์รากผมที่แข็งแรงและเมื่อร่วงไปแล้วก็กลับขึ้นใหม่ได้อีก สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจเช่นการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ และหลังได้รับการปลูกย้ายเซลล์ผมแล้วจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา สามารถสระผม ตัดผม ย้อมผม ฯลฯ ได้เอง หรือตามร้านตัดผมทั่วๆไปได้

::ผมร่วงในผู้หญิงเกิดจากอะไร?

สาเหตุทั้งพบได้บ่อยและไม่บ่อย อาจรวมถึง ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่าง ๆ เป็นต้น

::ควรจะแก้ปัญหาผมร่วงอย่างไรดี?

หลายครั้งที่เราไม่อาจทราบเองได้ว่าผมร่วงเกิดจากอะไร ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้หาสาเหตุและประเมินปัญหาของผมร่วง รวมทั้งให้การรักษาให้ตรงตามสาเหตุ

ข้อแนะนำจากคุณหมอ

ปัญหาผมร่วงในผู้หญิงไม่ได้รุนแรงอย่างที่คิด บางครั้งแค่ทำทรีทเม้นท์และทานวิตามินที่เหมาะสมผมก็สามารถทำให้ผมหนานุ่มและรากผมแข็งแรงได้มากกว่าเดิมแล้ว

สาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบางในผู้หญิงที่พบอาจได้แก่ 

  1. การทำผมหรือทำทรีทเมนต์ผมที่รุนแรงเกินไป การใช้สารเคมี เช่น ยาย้อมผม, ยากัดสีผม, ครีมย้อมผม, น้ำยาดัดผม น้ำยายืดผม ที่ไม่ถูกต้อง มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป อาจทำให้เกิดการขัดขวางการเจริญปกติของเส้นผมได้ นอกจากนี้การใช้ยางรัดผม หรืออุปกรณ์แต่งผมที่รัดแน่นเกินไปกับผมที่ผ่านสารเคมีมาก่อน ซึ่งในช่วงนั้นรากผมจะมีการอักเสบอยู่ อาจทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายกว่าปกติ ในทำนองเดียวกัน การถักเปียที่แน่นเกินไปก็จะทำให้ผมร่วงง่ายได้เช่นเดียวกัน และอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่บริเวณรากผม ซึ่งจะทำให้ไม่มีผมใหม่ขึ้นที่บริเวณรากผมนั้น เกิดผมร่วง ผมบางได้อีกด้วย
  2. ผมร่วงแบบศีรษะล้านจากพันธุกรรม ภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ชาย แต่ก็พบได้ประปรายในผู้หญิงอาจรู้จักได้ในชื่อ ผมร่วงแบบแอนโดรจีนิค (androgenic alopecia) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (ซึ่งพบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง) ไปเป็นฮอร์โมน ดีเอชที (DHT – dihydrotestosterone) ที่ทำให้เกิดผลอันตรายต่อรากผม โดยปกติในผู้หญิงจะมีปริมาณฮอร์โมนนี้อยู่ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ในภาวะใดก็ตามที่ฮอร์โมนเพศหญิงลดลง เช่น ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้ฤทธิ์ของฮอร์โมนตัวนี้เด่นขึ้น และทำให้เกิดภาวะผมบางที่บริเวณส่วนบนหรือด้านข้างของศีรษะคล้ายที่พบในผู้ชายได้
  3. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ผมร่วงอาจเกิดจากภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายได้เช่น การได้รับยาเม็ดคุมกำเนิด, หญิงวัยหมดประจำเดือน, หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน, การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก ซึ่งภาวะเหล่านี้จะทำให้เกิดฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และทำให้ผมเข้าสู่ระยะพักเร็วขึ้นกว่าปกติ ผมจึงหลุดร่วงเร็วขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีก เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน อาจพบภาวะผมร่วงได้ทั้งในผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูงและไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
  4. การตั้งครรภ์ และผมร่วงหลังคลอด ในช่วงตั้งครรภ์ผมที่ควรจะร่วงปกติกลับยังคงอยู่ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดมีระดับที่สูงขึ้นหลังคลอด ฮอร์โมนมีการลดลงสู่ระดับปกติจึงพบว่ามีผมร่วงมากขึ้น บางครั้งร่วงเป็นกระจุก บางครั้งอาจไม่พบทันทีหลังคลอด แต่กลับพบผมร่วงมากหลังคลอดแล้วนานถึง 3 เดือนก็ได้ ผมที่ร่วงมากขึ้นนี้ส่วนใหญ่จะกลับขึ้นปกติได้ภายใน 3-6 เดือน หลังเกิดอาการ
  5. ภาวะความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจหรือหลังการการผ่าตัด ภาวะความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัดสามารถที่จะทำให้รากผมเข้าสู่ระยะพัก การปรับตัวของร่างกายให้ต่อสู้กับความเครียดที่เกิดขึ้น ร่างกายอาจหยุดการทำงานที่ไม่จำเป็นเช่น การสร้างผมก็หยุดไว้ก่อน ผมร่วงที่เกิดจากภาวะนี้จะกลับเจริญขึ้นใหม่ได้เองหลังจากนี้ 6 เดือน นอกจากนี้โรคบางโรคอาจทำให้เกิดผมร่วงได้ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDs), โรคเอสแอลอี (SLE) , โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
  6. การขาดอาหาร การลดน้ำหนัก อดอาหาร หรือในผู้ป่วยโรคจิตบางชนิด เช่น อนอเรกเซีย, บูลีเมีย (anorexia, bulimia) อาจทำให้รากผมเกิดภาวะช็อค และหยุดการเจริญชั่วคราวได้ สารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่พอเพียง ทั้งพวกโปรตีน, วิตามิน, เกลือแร่ จะถูกนำไปใช้กับร่างกายในส่วนที่สำคัญก่อน ดังนั้นผมอาจจะหยุดการเจริญชั่วคราว เมื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพออีกครั้งผมจะเจริญขึ้นใหม่ได้อีก
  7. การใช้ยาบางประเภท ยาบางประเภทมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผมร่วงเช่น ยาเคมีบำบัด, ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง, ยารักษาโรคเก๊าฑ์, วิตามิน A ขนาดสูงที่ใช้ในการรักษาสิว ดังนั้นหากต้องใช้ยาอะไรเป็นประจำแล้วมีภาวะผมร่วงเกิดขึ้น ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ และเปลี่ยนชนิดของยา ส่วนใหญ่ผมที่ร่วงไปจะกลับขึ้นใหม่ได้
  8. อายุที่เพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น การเจริญของผมจะช้าลง การป้องกันผมร่วงจากภาวะนี้ค่อนข้างยาก แต่สิ่งที่จะพอช่วยได้คือ หลีกเลี่ยงสาเหตุอื่น ๆ ที่จะทำให้ผมร่วงมากขึ้นไปอีก เช่น ใช้แชมพูอ่อน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่ผม รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ก็จะไม่เป็นการซ้ำเติมให้เส้นผมหลุดร่วงมากขึ้น

 

 

ปลูกผมถาวร
*ผลลัพท์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล

 

 

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

ปลูกผมถาวร
*ผลลัพท์อาจแตกต่างแล้วแต่บุคคล

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

 

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

รีวิว ปลูกผม

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

*ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

 

ปลูกผม เสริมสร้างความมั่นใจ

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ผมร่วง ผมบาง หรือ ศีรษะล้าน  เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ใจอย่างใหญ่หลวง ปัญหานี้พบในเพศชายพอๆ กับเพศหญิง แต่คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ปัญหาศีรษะล้านนั้นเกิดเฉพาะกับเพศชาย แต่แท้จริงแล้วเพศหญิงก็ศีรษะล้านได้เหมือนกัน แต่เพศชายนั้นจะมีรูปแบบการล้านที่ชัดเจน เช่น ศีรษะล้านเว้าเข้าไปบริเวณมุมทั้งสองข้างด้านหน้า ทำให้สามารถแลเห็นได้ชัดเจน ในขณะที่เพศหญิงจะมีลักษณะผมบางด้านบนมากกว่าทำให้มองเห็นไม่ชัด

ปัญหา ผมร่วง ผมบาง หรือ ศีรษะล้าน ไม่ได้เกิดเฉพาะในคนที่มีอายุมาก ในคนหนุ่มสาวที่อายุน้อยก็สามารถเกิดได้ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นในวัยไหน อายุเท่าใด ก็สร้างความกังวลใจให้อย่างยิ่ง หากเป็นในคนที่อายุมากแล้วผมบางลงเรื่อย ๆ จนศีรษะเริ่มล้านจะทำให้บุคลิกดูไม่ภูมิฐาน ดูแก่กว่าอายุจริง หากเกิดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น อายุแค่ยี่สิบต้นๆ ก็เริ่มหัวเถิก ก็จะดูแก่เกินวัยกว่าเพื่อนพ้องในวัยเดียวกัน บั่นทอนความมั่นใจในการแต่งตัวหรือเข้าสังคมได้

 

:: จำเป็นต้องปลูกซ้ำรึเปล่า?โดยปกติแล้ว เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เส้นผมก็จะร่วงไปตามวัย แต่เนื่องจากในขั้นตอนการปลูกผม จะนำรากผมมาจากบริเวณที่ผมขึ้นค่อนข้างเป็นรากผมที่แข็งแรงกว่าผมบริเวณกลางกระหม่อม อย่างเช่น ผมบริเวณด้านหลัง หรือผมบริเวณด้านข้าง ดังนั้น เมื่อนำผมเหล่านั้นมาปลูกยังบริเวณที่ต้องการแล้ว ในขณะที่ผมเดิมบางลงเมื่ออายุมากขึ้น ผมที่ปลูกไว้จะยังเหลืออยู่ และสามารถปลูกเพิ่มได้ตามต้องการ ส่วนเส้นผมในบริเวณที่เรานำออกมานั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็จะงอกขึ้นมาใหม่ กลายเป็นเส้นผมธรรมชาติตามปกติ:: ข้อควรระวังการปลูกผม ควรกระทำภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หมายเหตุ *ผลลัพธ์อาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละบุคคล

นพ.ธีรศักดิ์ แพทยาดิกุล (หมอยาดี)
Dr.Teerasak Pattayadeekul (Moryadee)
แพทย์สาขาผิวหนัง ศัลยกรรมผิวหนัง/เลเซอร์/ความงาม
– MD.Msc.Phd Dermatology / LASER / Aesthetic Surgery.
– Fellow facial plastic Surgery USA/ Cosmetic Surgery Korea
– American Board Laser-Surgery at Westin diploma at Fort Lauderdale Florida USA
– Diploma of Hair Transplantation by Thai association and Academy of Cosmetic surgery and medicine

พญ.ทวีพร ตรีประภากร
Dr.Thaweeporn Treepraphakorn
แพทย์สาขาศัลยกรรมความงาม/ Laser/ ปลูกผม
แพทย์ อเมริกันบอร์ดปลูกผม 
– Fellowship in Cosmetic Surgery/ Korean  college of Cosmetic Surgery
– Diplomate American Board of Hair Restoration  Surgery/ABHRS
– Certificate Hair transplantation By Korean Society of Hair Restoration Surgery
– Member in association of Aesthetic Anti-aging Surgery,Thailand
– Member of International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS)

– Certificate Liposuction by Korean college of Cosmetic Surgery

 

LINE ID: @medaclinic

ewqqew

ทำไมต้องเลือกปลูกผมที่เมด้าคลินิก

1.คุณหมอ จบอเมริกันบอร์ดปลูกผมโดยตรง 1 ใน 18 คน ของประเทศ (American Board Hair Transplant)
2.ความสามารถระดับสากล โดยเป็นสมาชิกสมาคมแพทย์ปลูกผมระดับโลก(The International Society of Hair Restoration Surgery) ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้การรับรองด้านการปลูกผมถาวรทั่วโลก
3.ประสบการณ์ปลูกผม กว่า 16 ปี
4.ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลและบริการเรื่องเส้นผมของคนไข้ มากกว่า 10,000 เคส
5.สามารถการันตีผลลัพธ์การขึ้นของผม มากกว่า 98% และดูแลให้ตลอดชีวิตโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
6.การันตีผลงานมากมาย รับประกันคุณภาพ ผลลัพธ์ชัดเจน หลังปลูกถ้าผมไม่ขึ้น การันตีปลูกใหม่ให้ฟรี

สนใจรับคำปรึกษา หรือติดต่อสอบถาม
เมด้าคลินิก 574 ถนน เชียงใหม่-ลำปาง
ต.ท่าศาลา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50000
โทร. 053-230257 , 062-3103798
เปิดทำการ จ-ศ 10.00 – 19.30 น.  ส-อา 10.30 – 19.30 น.
FACEBOOK : MedaClinic  LINE ID: @medaclinic  IG : meda.clinic